หากพูดถึงระบบปฏิบัติการณ์ FreeBSD หลายๆ คนอาจจะพึ่งเคยได้ยิน หรือเคยได้ยินผ่านๆ หูมาบ้างแต่ก็ไม่รู้จักว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับระบบปฏิบัติการณ์ตัวนี้อย่างเจาะลึกกันดีกว่า โดยชื่อเต็มๆ ของมันคือ Free Berkeley Software Distribution ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบปฏิบัติการ Unix ขั้นสูง โดยผู้สร้างต้องการให้มันมีความสามารถในการรองรับการทำงานร่วมกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ x86 , Pentium , Athlon รวมถึงสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น amd64 , IA-64 , PC98 , Ultra SPARC เป็นต้น ความเป็นมาของระบบปฏิบัติการ Freebsd ถือกำเนิดมาจากระบบปฏิบัติการ BSD Unix ได้รับการพัฒนาผ่านฝีมือของทีมงานนักคอมพิวเตอร์ของ University of California ซึ่ง ณ ขณะนี้ Version 5.3 เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด
มี Logo เป็นรูปหัวปิศาจสีแดง มีเขาแหลมทั้ง 2 ยื่นออกมา เห็นอย่างนี้ทางทีมงานไม่ได้ตั้งใจจะส่อแววถึงความอันตรายแต่อย่างใด เพราะแรกเริ่มเดิมทีมันเคยเป็นรูปปีศาจเต็มตัวมาก่อน ก่อนจะย่อเหลือแค่ส่วนหัว และปิศาจนี้มีความหมายถึงผู้คุม Server ผู้คอยสอดส่องดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และ Server ของเราอย่างเต็มที่ นอกจากนี้มันยังคอยดูแล Process ขณะ RUN อยู่ให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ตลอดเวลา
โดย Freebsd มีจุดประสงค์ในการสร้างเพื่อให้เป็น Internet อันมีประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับการทำงานอย่างหนักหน่วง สำหรับหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าในประเทศของเรา มีหลายองค์กรที่ได้นำระบบปฏิบัติการณ์ FreeBSD ไปใช้ในหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น นำไปสร้างเป็น WWW , Mail , Gateway , NAT , Firewall Server เป็นต้น เพราะเมื่อหลายๆ คนได้ลองนำระบบปฏิบัติการนี้ไปใช้ในระยะหนึ่ง จะเกิดความรู้สึกติดใจ ในความเสถียรภาพ บวกกับความน่าเชื่อถือจนกลายมาใช้ยาวๆ เลย
ความสามารถอันโดดเด่นของ Freebsd
- มีการกำหนดสิทธิในการทำงานอันหลากหลายพร้อมกัน
- มีการจัดแบ่งทรัพยากรในระบบด้วยความยุติธรรมทั้งโปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้งาน
- รองรับการทำงานแบบหลายผู้ใช้ โดยยอมให้มีการใช้งานระบบ FreeBSD ได้หลายคนพร้อมๆกัน อีกทั้งยังกำหนดจำนวนการใช้งานของทรัพยากรระบบในแต่ล่ะคนได้
- ใช้ระบบเครือข่าย TCP/IP ซึ่งมีความปลอดภัย รวมทั้งรองรับการทำงานในส่วนของมาตรฐานต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น SLIP, PPP , NFS , DHCP เป็นต้น
- สามารถใช้งาน FreeBSD ในลักษณะเป็น Server ได้ เช่น mail server , web server, ftp server เป็นต้น
- ในระบบป้องกันหน่วยความจำทำให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจเรื่องการทำงาน ที่มาจากการใช้งานหน่วยความจำซ้ำกันของโปรแกรมประยุกต์
- ลิขสิทธิ์ของ FreeBSD ไม่ค่อยยุ่งยากหรือเข้มงวดเท่าไหร่ สามารถทำการแก้ไขได้อย่างง่ายดาย
- และมีความสามารถอื่นๆ อีกมากมายหลายประการ
ยกตัวอย่างเว็บไซต์ทีใช้ระบบปฏิบัติการ Freebsd
- https://www.pantip.com/
- https://www.Yahoo.com/
- https://www.sony.co.jp/
- http://www.jmawired.com/
- http://www.supervalu.com/ เป็นต้น