How-to-Install-FreeBSD-Command-Line

การติดตั้ง FreeBSD ด้วยรูปแบบ Command Line

How-to-Install-FreeBSD-Command-Line

‘ระบบปฏิบัติการ FreeBSD’ จัดว่าเป็นอีกระบบปฏิบัติการหนึ่ง ซึ่งมีความเสถียรภาพเป็นอย่างมาก หากแต่ด้วยความที่ระบบ ค่อนข้างมีความแข็งแรง เพราะฉะนั้น ผู้จะใช้ ‘ระบบปฏิบัติการ FreeBSD’ จะต้องมีความรู้ – ความเข้าใจเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะคำสั่งต่างๆ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ Command Line เพราะฉะนั้นสำหรับในวันนี้ เราจะมาอธิบาย ในเรื่องขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ FreeBSD กัน

วิธีติดตั้งใช้งาน FreeBSD อย่างเป็นระบบ

โดยมีขั้นตอนต่างๆ มากมาย ให้คุณเข้าไปในเว็บไซต์ https://www.freebsd.org/ เลือก Get FreeBSD พร้อมเลือกดาวน์โหลด Version ที่มีความต้องการในการใช้งาน สำหรับการยกตัวอย่าง ในการติดตั้งวันนี้ คือ Version 11.1 สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง มีดังต่อไปนี้…

  1. หน้าแรกให้คุณกดเลือก Install
  2. เลือกแป้นพิมพ์ที่คุณจะใช้งาน โดยการเลือก Default จะเป็นการใช้มาตรฐานแป้นพิมพ์แบบ ‘US’ แต่ถ้าคุณไม่ต้องการเปลี่ยน ก็สามารถเลือก ‘Continue with default keymap’ ได้เลย แล้วกด Enter เลือก Select
  3. กำหนดชื่อให้กับเครื่อง Server ที่คุณกำลังติดตั้ง
  4. เลือกส่วนเสริมของระบบ ในการติดตั้ง เราขอแนะนำให้คุณเลือกรายการ Ports และ SRC
  5. เข้าสู่การแบ่ง Partition เพื่อบริหารจัดการเนื้อหาใน HDD แต่ถ้าคุณยังไม่มีประสบการณ์ใดๆ เลย แนะนำให้เลือก Auto
  6. ระบบจะเด้งข้อความว่าต้องการ ติดตั้ง FreeBSD จาก HDD ที่มีอยู่ทั้งหมดใช่หรือไม่
  7. ถ้ามีการติดตั้งระบบมากกว่า 1 ระบบ แนะนำให้เลือก Partition แต่ถ้าต้องการติดตั้งระบบปฏิบัติการ FreeBSD ระบบเดียว แนะนำให้เลือก Entire Disk
  8. เลือกรูปแบบ Partition จะติดตั้งลงใน HDD ขอแนะนำ BSD
  9. ตรวจสอบ Partition ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง ก็สามารถสร้าง , ลบ , แก้ไข หรือกำหนดอย่างอัตโนมัติ เสร็จแล้วให้เลือก Finish ระบบจะเริ่ม Format แล้วแบ่ง Partition ตามที่ระบุ หลังจากนั้นจึงเริ่มติดตั้งระบบปฏิบัติการ FreeBSD รวมทั้งโปรแกรมระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  10. ลำดับถัดไป คือ การติดตั้งระบบเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
  11. การปรับแต่งระบบต้องการใช้ IPv4 หรือไม่ สำหรับ IP ในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 Version อันประกอบด้วย IPv4 และ IPv6 ให้เลือก Yes
  12. กำหนด IP แบบ DHCP หรือไม่ หากต้องการเลือก Yes
  13. การปรับแต่งระบบว่า ต้องการใช้ IPv6 หรือไม่ ?
  14. กำหนด DNS
  15. เลือก Time Zone เวลา ให้เลือก Asia และ Thailand
  16. กำหนดวันที่และเวลา
  17. เลือกบริการอื่นๆ ที่จะทำการติดตั้ง ก่อนที่จะเพิ่มเติมรวมทั้งกดให้เริ่มทำงานเมื่อเปิดเครื่องใหม่
  18. เลือกต้องการเพิ่มผู้ใช้ใหม่ในระบบหรือไม่ ?
  19. ขั้นตอนการสร้างผู้ใช้งานใหม่ในระบบ โดยสำหรับในขั้นตอนนี้ก็เพิ่มได้ในภายหลัง
  20. เป็นอันเสร็จสิ้น ขั้นตอนในการติดตั้งในขั้นตอนนี้ คุณสามารถปรับแต่งระบบต่างๆ ได้อย่างเพิ่มเติม เช่น การเพิ่มผู้ใช้ใหม่ , การเปลี่ยนรหัสผ่านของ root , การซื้อเครื่อง รวมทั้งบริการอื่นๆ ที่คุณต้องการติดตั้งเพิ่ม เป็นต้น แต่ถ้าคุณไม่ต้องการติดตั้งรายการใดๆ เพิ่มเติม สามารถเลือก Exit แล้วกดปุ่ม Enter ได้ทันที

การติดตั้งจะเสร็จสมบูรณ์ ด้วยการเลือก Reboot แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเริ่มการทำงานของระบบ ก็เป็นอันเสร็จ

Config-IPv6-for-freebsd

เหตุผลที่ต้องทำ Config IPv6 บน FreeBSD และวิธี

Config-IPv6-for-freebsd

ปัจจุบันนี้วงการ IT ก็ได้ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และในการเลือกทำงานเลือกใช้งานระบบปฏิบัติการหรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ OS  โดย OS ในก็มีให้เลือกใช้กันอย่างหลากหลาย ในวงการ IT หากเอ่ยชื่อขึ้นมา FreeBSD ก็คงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจเช่นกัน

เนื่องด้วยเป็นระบบปฏิบัติการที่คล้ายกับ Unix ที่เป็นระบบปฏิบัติการมีฟังก์ชันค่อนข้างครอบคลุมในหลาย ๆ เรื่องทั้ง kernel , shell , device driver ที่อยู่ใน CVS เดียวกัน ที่เพิ่มขึ้นมาจาก Linux เดิม ซึ่งจุดเด่นของ FreeBSD คือ

  • มีความเสถียรมากและไม่อืด
  • มีการแบ่งทรัพยากรได้ดี
  • มีระบบเครือข่ายที่ปลอดภัย TCP/IP รองรับการทำงานของระบบเดิมด้วย
  • หน่วยความจำมีประสิทธิภาพสูง รองรับโปรแกรมได้มาก
  • Path ต่าง ๆ คล้ายกันกับ Linux และ Unix

และในยุคนี้ก็มี internet protocol ตัวใหม่ออกมาที่เรียกว่า IPv6  โดยความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายในครั้งนี้เพื่อจะทำให้รองรับการขยายอินเตอร์เน็ตให้ดีขึ้น ซึ่งมันจะทำให้หลีกหลี่ยงของการขาดแคลนบนตำแหน่งเครือข่าย ซึ่งวันนี้เราก็จะมาบอกถึงวิธี config IPv6 บน FreeBSD กัน

อย่างที่ทราบกันดีว่า IPv6 ได้เปลี่ยนจาก 32 มาเป็น128 นั่นทำให้การเชื่อมต่อเครือข่ายมีปัญหา

ขั้นแรก การจะเปลี่ยนเป็น IPv6 ก่อนอื่นจะต้องเพิ่ม 2 บรรทัดนี้ ไปที่ rc.conf

ifconfig_rl0_ipv6=”inet6 accept_rtadv”

rtsold_enable=”YES”

จากที่เราได้เพิ่มบรรทัดลงไปแล้ว ในส่วนของบรรทัดแรกจะทำหน้าที่ให้หน้า interface ของเราสามารถเชื่อมกับเราเตอร์(router)ได้ และบรรทัดที่ 2 จะช่วยให้เราสามารถเรียกใช้ router : rtsol (8) ได้

แต่ถ้าหน้าจอต้องการ IP ของ IPv6 ที่กำหนดแบบ static ให้เรากำหนด static และกำหนดความยาวของ static นั้นเอง เช่น

ifconfig_rl0_ipv6=”inet6 2001:db8:4672:6565:2026:5043:2d42:5344 prefixlen 64″

หลังจากนั้นกำหนดค่า default ของ router ที่เราใช้อยู่

ipv6_defaultrouter=”2001:db8:4672:6565::1″

บันทึกและปิดไฟล์ เริ่มระบบเครือข่าย IPv6 ใหม่โดยใส่

# /etc/rc.d/network_ipv6 restart

หากต้องการดูที่อยู่ IP ที่กำหนดใหม่ให้ป้อน

# ifconfig

# ifconfig | grep inet6

หลังจากนั้นให้เราลองทดสอบว่าสามารถเชื่อมต่อกับ network ได้เรียบร้อยแล้ว

ให้ใช้คำสั่ง ping6 หรือ traceroute6 โดยป้อน

$ ping6 ipv6.google.com

$ traceroute6 ipv6.google.com

ลองใช้คำสั่ง host เพื่อขอรับที่อยู่ IPv6 และ IPv6 ใส่

$ host www.kame.net

ผลที่ได้ก็จะออกมาประมาณนี้

www.kame.net has address 203.178.141.194

www.kame.net has IPv6 address 2001:200:0:8002:203:47ff:fea5:3085

หากคนที่ติดตั้ง หรือ config IPv6 ไม่ได้ก็แนะนำให้ตั้งค่ากับอุปกรณ์ที่ใช้ internetโดยตรงเลย เช่น Windows MacOS iOS  ที่มีการติดตั้งที่ง่ายและไม่ซับซ้อนเท่า สุดท้ายนี้บทความนี้ก็เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังใช้ FreeBSD และกำลังเปลี่ยนจาก IPv4 เป็น IPv6 เท่านั้น นอกจากวิธีนี้แล้วก็ยังมีอีกหลายวิธีที่น่าสนใจ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจทุกคน

program-for-freebsd

โปรแกรมอื่นๆ ที่เหมาะสำหรับการใช้กับ FreeBSD

program-for-freebsd

เนื่องจากในปัจจุบันมี OS และระบบปฏิบัติการต่างๆ ให้เลือกใช้มากมายแต่ข้อจำกัดของการเปลี่ยนระบบปฏิบัติการที่มีปัญหามาตามมานั่นก็คือการลงโปรแกรมนั่นเอง ด้วยสาเหตุที่บางโปรแกรมไม่ได้รองรับในระบบปฏิบัติบางประเภท แต่หากเราจำเป็นที่จะต้องเลือก OS หนึ่งมาใช้ทำงานแล้ว ก็ควรจะมีโปรแกรมพื้นฐานเล็กน้อยไว้ติดเครื่องสักเล็กน้อย

บางทีการที่เราเลือกระบบปฏิบัติการที่เหมาะกับการทำงานก็ต้องแลกมากับการโปรแกรมที่ยากลำบาก ด้วยที่ระบบปฏิบัติการ FreeBSD เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นรองรับการทำงานในด้านการเขียนโปรแกรมได้มาก และระบบที่รวดเร็ว นั่นทำให้หลายคนวางใจเลือกใช้ FreeBSD แต่ในทางกลับกันด้วยที่เป็นระบบที่ใหม่ก็ทำให้ไม่มีโปรแกรมรองรับนั่นเองซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสำหรับลงในระบบปฏิบัติการของ FreeBSD ที่เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ กับโปรแกรมต่างๆ ดังนี้

  1. GOM Media Player – เป็นโปรแกรมสำหรับดูสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ฟังเพลง หรือฟังก์ชันการตัดรูปภาพจากวิดีโอ ก็ถือเป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่ควรมีติดเครื่องไว้ ทั้งยังรองรับบน FreeBSD อีกด้วย
  2. Mozilla Firefox – เป็นโปรแกรม web browser ที่จำเป็นอย่างมากในการท่องโลกของอินเทอร์เน็ตที่แทบจะขาดไม่ได้เลยสำหรับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ล่าสุดทาง Firefox ก็ได้ออกเวอร์ชันล่าสุดออกมาเป็นรุ่นที่ 62 ซึ่งเป็นรุ่นที่เพิ่มการสนับสนุนระบบปฏิบัติการของ FreeBSD อีกด้วย
  3. Nero burning rom – เป็นโปรแกรมที่มีไว้สำหรับการเบิร์นงานลงบนแผ่น CD และ DVD เหมาะสำหรับการส่งงานให้กับลูกค้าและใช้เมื่อยามต้องการ ซึ่งตัวของโปรแกรมเองก็มีการเปิด Open Source บน FreeBSD ให้มาใช้กันอีกด้วย
  4. Teamviewer – เป็นโปรมแกรมที่เหมาะสำหรับการทำงานข้ามเครื่องในระยะไกลหรือที่เรียกกันว่าการ remote นั่นเอง ซึ่งหากเรามั่วแต่สลับ OS ไปมาอาจจะทำให้เสียโอกาสและเสียเวลาในการทำงานได้และโปรแกรมนี้ก็ถือเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ไม่ควรพลาดที่จะมีติดไว้บนเครื่องเลยล่ะ

นี่ก็เป็นเพียงโปรแกรมส่วนหนึ่งที่เรานำมาแนะนำให้ทราบนั้นก็มีอีกหลากหลายโปรแกรมที่สามารถรองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ FreeBSD แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละคนด้วย แต่ทางที่ดีระบบปฏิบัติการ FreeBSD เป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับทำงานที่มีความจำเป็นต้องใช้เนื้อที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งการลงโปรแกรมมากไปก็อาจจะเป็นปัญหาต่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้งานเองควรศึกษาความเสี่ยง และเลือกใช้งานตามเหมาะสมและความจำเป็นภายในงานนั้นๆ ด้วย

แนะนำวิธีการดาวน์โหลด FreeBSD

สำหรับ FreeBSD เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในแบบฉบับที่เรียกว่า Open Source เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อถือได้ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพรวมไปถึงความสามารถด้านการใช้งาน ถือว่าเป็นฟรีแวร์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานจำนวนมากเลยทีเดียว นั่นแสดงให้เห็นว่า FreeBSD จัดเป็นโปรแกรมยอดนิยมอีกโปรแกรมหนึ่งที่ควรค่ากับการดาวน์โหลดมาใช้งานอย่างมาก มีการพัฒนาโปรแกรมมากว่า 30 ปี สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพภายในด้านการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย อาทิ ไฟร์วอล, การบล็อกเว็บไซต์ และอื่นๆ ทุกคนสามารถดาวน์โหลดเพื่อมาศึกษาหรือใช้งานได้แบบฟรีๆ

วิธีการดาวน์โหลด FreeBSD

ความต้องการสำหรับการดาวน์โหลดโปรแกรม FreeBSD ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ส่วนการติดตั้งโปรแกรม FreeBSD เองก็แตกต่างไปตามโครงสร้างและตัวสถาปัตยกรรมในการผลิตอุปกรณ์แต่ละค่ายซึ่งรองรับการใช้งาน FreeBSD โดยตัว FreeBSD มีรายการของอุปกรณ์มาตรฐานซึ่งสามารถใช้งานกับ FreeBSD ได้ด้วย ปกติแล้วในการลงโปรแกรมนี้ต้องมีขั้นต่ำของตัวเก็บข้อมูลที่ RAM 64GB และ 1.5GB สำหรับพื้นที่บันทึกข้อมูล HDD กระนั้นนี่เป็นเพียงแค่ความต้องการขั้นต่ำ เมื่อมาสู่การใช้งานจริงก็จะเกิดความแตกต่างรวมไปถึงปริมาณของเครื่องที่นำมาใช้งานด้วยว่ามีมากน้อยขนาดไหน หากให้แนะนำก็ขอแนะนำว่าควรเลือกใช้ RAM 4GB และตัวพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับซีพียูปกติรองรับสถาปัตยกรรม 32bit/64bit ทั้งของ Intel และ AMD

ขั้นตอนก่อนการติดตั้ง FreeBSD

ควรมีการสำรองข้อมูลพร้อมทำการตัดสินใจว่าจะลง FreeBSD ไว้ส่วนไหน มีการตรวจสอบพร้อมเก็บข้อมูลเครือข่ายที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน เช่น IP Address, Subnet mask, Domain name of the network, IP Address of default gateway, IP Address of the network’s DNS servers

ขั้นตอนการเตรียมไฟล์สำหรับติดตั้ง FreeBSD

ให้ทำการดาวน์โหลดไฟล์ FreeBSD ซึ่งเป็นอิมเมจไฟล์จากเว็บผู้พัฒนา FreeBSD โดยตรง จากนั้นเขียนไฟล์อิมเมจลง USB Drive ไม่ก็แผ่น CD แล้วนำเอาไปบูทเพื่ออ่านค่าสำหรับการติดตั้งโปรแกรม FreeBSD จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่ได้มีการแนะนำเอาไว้จนครบจบสิ้นทุกกระบวนการ ขณะที่การคอนฟิกค่าพื้นฐานการใช้งานหลังมีการติดตั้งก็ให้ศึกษาได้จากเว็บของผู้พัฒนา รวมไปถึงการติดตั้งส่วนขยายความให้สามารถใช้งานไฟร์วอล, อินเตอร์เน็ต แชร์ริ่ง หรือ การติดตั้งสควอด พร็อกซี่ เป็นต้น

การดาวน์โหลดและการติดตั้ง FreeBSD ไม่ใช่เรื่องยากคนมีพื้นฐานการติดตั้งหรือการดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วสามารถทำตามได้แบบสบายๆ รับรองว่าเมื่อนำมาใช้งานจะพบเจอกับอีกหนึ่งประสิทธิภาพเหนือคำบรรยายแถมยังได้โปรแกรมดีๆ เอาไว้ใช้งานอีกต่างหากสำหรับโปรแกรม FreeBSD นี้ ถือว่าสุดยอดมาก

freebsd-linux-circle

การประยุกต์ Freebsd ใช้งานในองค์กร

freebsd-linux-circle

FreeBSD คือระบบปฏิบัติการ Unix ขั้นสูง ซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อรองรับการทำงานกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ อันได้แก่ x86 , Pentium , Athlon รวมถึงสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น Ultra SPARC, amd64, Alpha/AXP, IA-64, PC98 เป็นต้น โดยเจ้าระบบปฏิบัติการชนิดนี้มีต้นแบบมาจากระบบปฏิบัติการ BSD Unix โดยถูกพัฒนามาจากทีมงานคอมพิวเตอร์ของ University of California ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการ FreeBSD พัฒนามาถึง Version 5.3 ซึ่งเป็น Version ล่าสุดที่คุณสามารถดาวน์โหลดมาทดลองใช้ได้

รูปลักษณ์ของระบบปฏิบัติการ FreeBSD

ในระบบปฏิบัติการ FreeBSD มีรูปลักษณ์อันน่าจดจำคือ ปีศาจน้อย ตัวสีแดงหน้าตาน่ารัก ถือหอก 3 ง่าม ซึ่งเป็น Mascot ของระบบปฏิบัติการ FreeBSD โดยเปรียบได้กับ ผู้ที่คอยเฝ้าดูแลรวมทั้งคอยพิทักษ์ Server ของเราให้เป็นดั่งป้อมปราการ มีความปลอดภัยจากศัตรู ที่ต้องการบุกรุกเข้ามาทำลาย นอกจากนี้เจ้าปิศาจน้อย ยังคอยดูแล Process ต่างๆ ซึ่งกำลัง RUN อยู่ให้ทำงานราบรื่นตลอดเวลา

การนำ Freebsd มาประยุกต์ใช้งานในองค์กร

ในประเทศของเรา มีทั้งหน่วยของรัฐ และหน่วยงานเอกชนหลายแห่ง ใช้ระบบปฏิบัติการ FreeBSD เป็นตัวหลัก อีกทั้งยังมีการนำมาใช้ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น www.pantip.com โดยเป็นกระดานเอาไว้สำหรับพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่มีชื่อเสียงมาก ก็ใช้ระบบปฏิบัติการ FreeBSD นี่แหละเป็น Server เพื่อรองรับกำลังโหลดอันมหาศาลที่เข้ามาในทุกๆ วัน นอกจากนี้ในแวดวงธุรกิจประเภท Web Hosting หลายๆ เจ้าก็เลือกใช้ระบบปฏิบัติการ FreeBSD เช่นกัน เนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นต่างเชื่อใจในประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยม รวมทั้งความเสถียรภาพของ OS นี้ ส่วนเว็บไซต์ของต่างประเทศก็มีการใช้งานระบบปฏิบัติการนี้ อย่างแพร่หลาย ทั้งธุรกิจ การค้า และการศึกษา

จุดเด่นของการนำ Freebsd มาประยุกต์ใช้งานในองค์กร

  • เพิ่มโปรแกรมประยุกต์ได้โดยง่าย โดยผ่านทาง Internet ซึ่ง FreeBSD เป็น Source Code สามารถเข้ากันได้กับระบบ Unix ทางการค้า นอกจากนี้ถ้าโปรแกรมประยุกต์ต้องการเปลี่ยนแปลงบางส่วนก็สามารถทำได้ ซึ่งรวมทั้งการ compi ใหม่ด้วย
  • ในเรื่องของ ความจำเหมือน , ความจำ Cache , ความจำ Buffer ได้รับการออกแบบให้ทรงประสิทธิภาพ ทำให้มีความเพียงพอต่อโปรแกรมประยุกต์ในแต่ละตัว รวมทั้งครอบคลุมการใช้งานของแต่ละคน
  • รองรับการประมวลผลแบบ Symmetric multi-processor
  • รองรับการทำงานของภาษาพื้นฐาน ได้แก่ C, C++, Fortran, และPerl อีกทั้งยังติดตั้งตัวแปรภาษาเพิ่มเติมได้ จากพอร์ตและเพคเกจ
  • มีทีมงานจากมหาวิทยาลัย University of California คอยพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง
  • ใช้กับเครื่อง Server ที่มี Hardware ต่ำๆ ได้ เนื่องจากมันถูกออกแบบมาอย่างดี ทำให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องซื้อ Server ใหม่ๆ ที่มีราคาแพง แต่สามารถใช้ Server เก่าๆ มาติดตั้ง FreeBSD ได้อย่างหมดกังวลใดๆ ทั้งสิ้น
  • FreeBSD พัฒนามาจากระบบเปิด ทำให้มี Source Code ของระบบ จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับปรุงแก้ไขการทำงานของระบบให้เกิดความถูกต้องแม่นยำขึ้นได้
  • มีคู่มือสอนวิธีใช้งานแบบออนไลน์
unix-freebsd-article

Freebsd เป็น Linux หรือ Unix

unix-freebsd-article

หากพูดถึงระบบปฏิบัติการณ์ FreeBSD หลายๆ คนอาจจะพึ่งเคยได้ยิน หรือเคยได้ยินผ่านๆ หูมาบ้างแต่ก็ไม่รู้จักว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับระบบปฏิบัติการณ์ตัวนี้อย่างเจาะลึกกันดีกว่า โดยชื่อเต็มๆ ของมันคือ Free Berkeley Software Distribution ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบปฏิบัติการ Unix ขั้นสูง โดยผู้สร้างต้องการให้มันมีความสามารถในการรองรับการทำงานร่วมกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ x86 , Pentium , Athlon รวมถึงสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น amd64 , IA-64 , PC98 , Ultra SPARC เป็นต้น ความเป็นมาของระบบปฏิบัติการ Freebsd ถือกำเนิดมาจากระบบปฏิบัติการ BSD Unix ได้รับการพัฒนาผ่านฝีมือของทีมงานนักคอมพิวเตอร์ของ University of California ซึ่ง ณ ขณะนี้ Version 5.3 เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด

มี Logo เป็นรูปหัวปิศาจสีแดง มีเขาแหลมทั้ง 2 ยื่นออกมา เห็นอย่างนี้ทางทีมงานไม่ได้ตั้งใจจะส่อแววถึงความอันตรายแต่อย่างใด เพราะแรกเริ่มเดิมทีมันเคยเป็นรูปปีศาจเต็มตัวมาก่อน ก่อนจะย่อเหลือแค่ส่วนหัว และปิศาจนี้มีความหมายถึงผู้คุม Server ผู้คอยสอดส่องดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และ Server ของเราอย่างเต็มที่ นอกจากนี้มันยังคอยดูแล Process ขณะ RUN อยู่ให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ตลอดเวลา

โดย Freebsd มีจุดประสงค์ในการสร้างเพื่อให้เป็น Internet อันมีประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับการทำงานอย่างหนักหน่วง สำหรับหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าในประเทศของเรา มีหลายองค์กรที่ได้นำระบบปฏิบัติการณ์ FreeBSD ไปใช้ในหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น นำไปสร้างเป็น WWW , Mail , Gateway , NAT , Firewall Server เป็นต้น เพราะเมื่อหลายๆ คนได้ลองนำระบบปฏิบัติการนี้ไปใช้ในระยะหนึ่ง จะเกิดความรู้สึกติดใจ ในความเสถียรภาพ บวกกับความน่าเชื่อถือจนกลายมาใช้ยาวๆ เลย

ความสามารถอันโดดเด่นของ Freebsd

  • มีการกำหนดสิทธิในการทำงานอันหลากหลายพร้อมกัน
  • มีการจัดแบ่งทรัพยากรในระบบด้วยความยุติธรรมทั้งโปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้งาน
  • รองรับการทำงานแบบหลายผู้ใช้ โดยยอมให้มีการใช้งานระบบ FreeBSD ได้หลายคนพร้อมๆกัน อีกทั้งยังกำหนดจำนวนการใช้งานของทรัพยากรระบบในแต่ล่ะคนได้
  • ใช้ระบบเครือข่าย TCP/IP ซึ่งมีความปลอดภัย รวมทั้งรองรับการทำงานในส่วนของมาตรฐานต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น SLIP, PPP , NFS , DHCP เป็นต้น
  • สามารถใช้งาน FreeBSD ในลักษณะเป็น Server ได้ เช่น mail server , web server, ftp server เป็นต้น
  • ในระบบป้องกันหน่วยความจำทำให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจเรื่องการทำงาน ที่มาจากการใช้งานหน่วยความจำซ้ำกันของโปรแกรมประยุกต์
  • ลิขสิทธิ์ของ FreeBSD ไม่ค่อยยุ่งยากหรือเข้มงวดเท่าไหร่ สามารถทำการแก้ไขได้อย่างง่ายดาย
  • และมีความสามารถอื่นๆ อีกมากมายหลายประการ

ยกตัวอย่างเว็บไซต์ทีใช้ระบบปฏิบัติการ Freebsd

  • https://www.pantip.com/
  • https://www.Yahoo.com/
  • https://www.sony.co.jp/
  • http://www.jmawired.com/
  • http://www.supervalu.com/ เป็นต้น
bsd_free_site_logo

เปรียบเทียบความแตกต่างโปรแกรมของสำนักงาน Microsoft Office กับ FreeBSD

ทุกวันนี้เรื่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างมากมาย แต่ละบริษัทเองก็พยายามที่จะสร้างวิวัฒนาการที่ดีที่สุดเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดโลกจนทำให้เกิดความสะดวกสบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราจึงเห็นได้ว่าในยุคนี้โปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั้งหลายมีมากขึ้นจนบางระบบเองเราอาจแทบไม่เคยได้ยินเลยก็ว่าได้ ถึงกระนั้นมันก็ยังมีระบบที่เรารู้จักกันดีอยู่หลายระบบเหมือนกันซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งานของแต่ละคนว่าอยากเลือกใช้งานในระบบปฏิบัติการใดมากที่สุด Continue reading “เปรียบเทียบความแตกต่างโปรแกรมของสำนักงาน Microsoft Office กับ FreeBSD”

orange-wallpaper-logo-freebsd

วิธีการติดตั้งโปรแกรม FreeBSD

ปกติแล้วเวลาที่เราต้องการจะเริ่มต้นการทำงานของระบบปฏิบัติการต่างๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องของการพยายามหาวิธีในการติดตั้งระบบปฏิบัติการนั้นๆ ให้ได้ เพราะหากเรามีวิธีในการติดตั้งระบบปฏิบัติการดังกล่าวให้ได้อย่างที่ใจต้องการแล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะเลือกใช้งานระบบปฏิบัติการที่ว่าด้วยความสบายใจ สำหรับระบบปฏิบัติการอย่าง FreeBSD เองก็ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ทำให้คนส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างให้ความนิยมในการใช้ระบบปฏิบัติการนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวิธีในการติดตั้งตั้ง FreeBSD ก็ถือว่าเป็นวิธีการที่ไม่ได้ยุ่งยากหรือสลับซับซ้อนอะไรมากจนเกินไป หากมีการศึกษาข้อมูลอย่างเข้าใจก็สามารถติดตั้งได้แบบสบายๆ Continue reading “วิธีการติดตั้งโปรแกรม FreeBSD”

blue-wallpaper-freebsd

ขั้นตอนระบบปฏิบัติการ FreeBSD

การที่เราได้ทำความรู้จักกับระบบปฏิบัติการอะไรขึ้นมาสักอย่างมันย่อมทำให้การทำงานในด้านต่างๆ ของเราเป็นสิ่งที่ง่ายมากขึ้นอย่างแน่นอน ถึงกระนั้นก็ต้องเข้าใจด้วยเช่นเดียวกันว่ากว่าที่จะได้ระบบปฏิบัติการดีๆ ขึ้นมาสักชิ้นหนึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะมันต้องผ่านขั้นตอน ผ่านการคิด ผ่านการทดสอบอะไรต่างๆ มากมาย กว่าจะได้มาเป็นระบบที่เราสามารถนำมาใช้ได้อย่างทุกวันนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ระบบปฏิบัติการต่างๆ จะค่อนข้างมีค่าเป็นอย่างมากทั้งในแง่ของความคิดและด้านการเงิน Continue reading “ขั้นตอนระบบปฏิบัติการ FreeBSD”

new_logo_freebsd

ยกข้อดีของการใช้ FreeBSD

การใช้งานในระบบปฏิบัติการที่ใหม่กว่าแน่นอนว่ามันย่อมทำให้รูปแบบของการใช้งานดีขึ้นกว่าที่ของเก่าเคยใช้อยู่อย่างแน่นอน อย่างระบบปฏิบัติการ FreeBSD ก็ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเวลานี้ เหตุเพราะมันมีข้อดีต่างๆ มากมายที่ผู้ใช้งานเองต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าดีกว่าระบบเก่าทีผ่านมาค่อนข้างเยอะ จึงไม่แปลกใจเท่าไหร่ที่ระบบ FreeBSD จะเป็นระบบที่ได้รับความนิยมอยู่ในเวลานี้ Continue reading “ยกข้อดีของการใช้ FreeBSD”